Thursday, 13 January 2022

รีวิว Toy Story 4 (ทอย สตอรี่ 4)

ภาพยนต์อนิเมชั่นขวัญใจเด็กทุกยุคตลอดกาลกับแนะนำหนังการ์ตูนแอนิเมชั่น  Toy Story 4 (ทอย สตอรี่ 4) ที่ยังคงสานต่อเรื่องราวมาจากภาคที่ 3 เมื่อแอนดี้ส่งมอบเหล่าของเล่นต่อให้กับบอนนี่ เด็กสาวคนใหม่ ระหว่างการเปลี่ยนผ่านของเล่นนั้น โบ พี้ป สาวตุ๊กตาเซรามิกและเจ้าแกะบนโคมไฟที่บ้านของแอนดี้ต้องพลัดพรากจากลากับเหล่าของเล่นตัวอื่นๆ ณ โมเมนต์นั้นเอง การบอกลาระหว่างวู้ดดี้และโบ พี๊ปสะท้อนห้วงอารมณ์ความรู้สึกเศร้าโศกและชวนเสียใจอย่างมาก เมื่อเธอ “ไม่เป็นที่ต้องการ” ของเจ้าของอีกต่อไปแล้ว แม้วู้ดดี้จะพยายามรั้งเธอไว้ แต่เธอกล่าวกลับว่า “ไม่เป็นไรหรอก เพราะฉันไม่ใช่ของเล่นของแอนดี้”

การลาจากของโบ พี๊ปเหลือไว้ซึ่งความทรงจำดีๆไว้กับวู้ดดี้ ตุ๊กตาของเล่นนายอำเภอ ที่ยังมีความคิดในเชิงยึดติดที่ว่า เขา “มีหน้าที่” ที่จะต้องเป็นของเล่นที่ต้องจงรักภักดีและดูแลเจ้าของของตัวเองด้วยชีวิต จนกระทั่งวันหนึ่งวู้ดดี้มีภารกิจสำคัญในการต้องช่วยเหลือฟอร์คกี้ สิ่งประดิษฐ์ที่บอนนี่สร้างขึ้นมา และการหนีไปของมันก็นำมาซึ่งปัญหาอันใหญ่ยิ่ง ทำให้เพื่อนๆของเล่นต้องร่วมมือกันตามหาเจ้าฟอร์คกี้กลับคืนมาให้กับบอนนี่

ระหว่างการตามหาฟอร์คกี้นั้นเอง ทำให้วู้ดดี้ได้กลับมาพบกับโบ พี๊ปอีกครั้ง ซึ่งตอนนี้เธอได้กลายเป็นของเล่นพเนจรที่ไม่มีเจ้าของอีกต่อไป เธอออกเดินทางเพื่อออกสำรวจโลกกว้าง แม้ว่าตอนแรกวู้ดดี้ได้พยายามชักชวนเธอให้กลับไปอยู่กับบอนนี่ แต่ก็ไม่สำเร็จ วู้ดดี้ร้องขอความช่วยเหลือจากโบ พี๊ปในการทำภารกิจเสี่ยงตายในการไปช่วยเหลือฟอร์คกี้ที่โดนแกบบี้ ตุ๊กตาดึงเชือกที่กล่องเสียงผิดพลาดระหว่างการผิต ทำให้เธอโทษตัวเองว่า ถ้าหากกล่องเสียไม่ชำรุด แกบบี้คงมีเด็กสักคงเลือกเธอไปเป็นเพื่อน และนั่นคือความปรารถนาอันสูงสุดที่เธอต้องการมาโดยตลอดชีวิตการเป็นของเล่น เพราะปัจจุบันเธอต้องนั่งดมฝุ่นอยู่ในร้านขายของเก่ามานานนม

ความน่าสนใจในหนังภาคนี้คือ มีตัวละครหลักไม่ว่าจะเป็นวู้ดดี้ ที่ยังคงเป็นตัวละครที่มีแนวคิดในการให้คุณค่ากับการยืนหยัดในสิ่งที่เขาเชื่อมาตลอดชีวิต โบ พี๊ป ที่ออกมาเผชิญโลกกว้างเพราะเธอไม่อยาก “ถูกทอดทิ้ง” หรือ “เปลี่ยนเจ้าของ” ครั้งแล้วครั้งเล่า ฟอร์คกี้ สิ่งประดิษฐ์ที่เชื่อว่าตัวเองเป็นขยะมากกว่าของเล่น และคิดเสมอว่าแท้จริงแล้วไม่มีใครต้องการเขา หรือกระทั่ง แก็บบี้ ที่เหมือนจะเป็นตัวร้ายของเรื่อง แต่เธอแค่อยากจะเติมเต็มความรู้สึกที่เธอโหยหามาตลอดชีวิตการเป็นของเล่นเท่านั้นเอง

จะเห็นได้ว่าตัวละครทั้ง 4 ตัวนี้ถูกขับเคลื่อนด้วยแนวคิดการให้ “คุณค่า” ของการมีชีวิตที่แตกต่างกัน และที่งดงามไปกว่านั้นคือ Toy Story 4 ไม่ได้ตัดสินตัวละครตัวไหนให้กลายเป็นด้านขาวหรือดำ แต่เป็น “ทางเลือก” ให้คนดูได้เห็นว่า ทุกมุมมองของชีวิตก็ล้วนแล้วแต่งดงามทั้งสิ้น อยู่ที่ว่าเราจะเลือกเดินทางไหน เท่านั้นเอง


No comments:

Post a Comment

รีวิว Boku ga Aishita Subete no Kimi e (2023) ถึงเธอทุกคนที่ผมรัก

อนิเมะเรื่องดังที่เปิดตัวในเดือนมีนาคมนี้มาพร้อมเรื่องราวสนุกๆ และงานภาพที่ดี มีมิติไม่จืด ชมได้เพลินมากยิ่งพวกฉากโรแมนติกนี้สุดจริงๆ กับซีน...